บาดแผลจากน้ำร้อนลวกหลายๆคนอาจคิดว่าไม่ได้มีความอันตรายร้ายแรง แต่ที่จริงแล้วมีความอันตรายและเสี่ยงอย่างมาก น้ำร้อนลวกสามารถทำให้เกิดการเผาไหม้ของผิวหนังได้ในระดับที่รุนแรงได้ และหากมีการรักษาไม่ดีจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งการรับมือกับบาดแผลจากน้ำร้อนลวกต้องทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
สาเหตุของบาดแผลจากน้ำร้อนลวก
- ความไม่ระมัดระวังในการใช้น้ำร้อน: การที่น้ำร้อนมีอุณหภูมิสูงและมีการใช้งานโดยไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดการระเบิดของน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและกระเด็นไปยังผิวหนัง เป็นสาเหตุที่มักพบได้บ่อยจากความร้อนของ นำ้ดื่ม กาแฟ ต้มน้ำทำอาหาร
- การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า: เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดต้องสร้างความร้อนก่อนการใช้งานอย่างเช่น เตารีด กาต้มน้ำ ทีหนีบผม ทำให้ในบางครั้งผู้ใช้อาจเผลอไปโดนทำให้เกิดแผลไฟไหม้ได้
- สารเคมี: สารเคมีบางประเภทเมื่อสัมผัสกับผิวหนังมีฤทธิ์การกัดกร่อน ซึ่งสารเคมีเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนังได้โดยตรง การสัมผัสกับสารเคมีเหล่านี้อาจเกิดอันตรายต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ หรือระบบที่เกี่ยวข้องอื่นๆของร่างกายได้ด้วย
- กระแสไฟฟ้า: เมื่อมีการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่มีความแรงสูง มักจะทำให้เกิดความร้อนโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการสัมผัส โดยทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่านผิวหนังจะเกิดการไหม้ได้ เนื่องจากความร้อนที่สร้างขึ้นจากกระแสไฟฟ้าสามารถทำลายเนื้อเยื่อและผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว การไหม้ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะที่หลากหลายตามระดับความรุนแรงของกระแสไฟฟ้าที่สัมผัส
จากสาเหตุเราจะเห็นได้ว่าเมื่อมีการสัมผัสกับโดนความร้อน เซลล์ในผิวหนังจะถูกทำลายอย่างรุนแรง ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจรวมถึงการแตกต่างของเนื้อเยื่อ แผลลึก และบาดแผลที่รุนแรงมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีต้นเหตุมาจากน้ำร้อนโดยตรงแต่เรามักจะเรียกรวมๆว่าแผลน้ำร้อนลวก โดยระดับความรุนแรงของบาดแผลน้ำร้อยลวกแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้
3 ระดับความรุนแรงของแผลน้ำร้อนลวก
ความรุนแรงจากจากบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องไม่ว่าจะเป็น ระดับความร้อน ระยะเวลาสัมผัสความร้อน ตำแหน่งบาดแผล ความลึกของบาดแผล
1. First degree burn
- ความเสียหายที่เกิดขึ้นบนผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น
- ลักษณะอาการ : แดง แต่ไม่มีตุ่มพอง และมีความรู้สึกปวดหรือแสบร้อน
- เวลารักษา: ประมาณ 7 วันโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้ออักเสบ)
- มักเห็นได้บ่อยจากแผลไหม้จากแสงอาทิตย์ ถูกน้ำร้อน ไอน้ำเดือดหรือวัตถุที่ร้อนเพียงเฉียดๆ
2. Second degree burn
แผลไหม้ระดับที่สองมีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด:
2.1 บาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burn):
- รอยไหม้เกิดขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น (ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้ (dermis) ส่วนที่อยู่ตื้นๆ (ใต้หนังกำพร้า) แต่ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้
- ลักษณะอาการ: มีตุ่มพองใส แผลสีเหลืองขาว ชื้น และมีน้ำเหลืองซึม
- ระยะเวลาการรักษา: หายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยไม่เกิดแผลเป็น (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้อ)
2.2 บาดแผลระดับที่สองชนิดลึก (Deep partial-thickness burns):
- รอยไหม้ไปจนถึงชั้นของหนังแท้ส่วนลึก
- ลักษณะอาการ : จะไม่ค่อยมีตุ่มพอง, แผลสีเหลืองขาว, แห้ง และไม่ค่อยปวด บาดแผลชนิดนี้มีโอกาสเกิดแผลเป็นได้แต่ไม่มาก ถ้าไม่มีการติดเชื้อซ้ำเติม
- ระยะเวลาการรักษา: หายได้ภายใน 3-6 สัปดาห์ การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่จะช่วยให้แผลไม่ติดเชื้อ
3. Third degree burn
- แผลไหม้จะลึกลงไปจนทำลายหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาท อาจลึกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก
- ลักษณะอาการ : มีลักษณะขาว ซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง แห้งและกร้าน อาจเห็นรอยเส้นเลือดอยู่ใต้แผ่นหนานั้น และเนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังแท้ถูกทำลายไปหมดทำให้แผลนี้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
- ระยะเวลาการรักษา: ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอน การแผลมักจะไม่หายไปเองโดยที่ต้องมีการรักษาเช่นการผ่าตัดปลูกผิวหนัง
- มักเกิดจากไฟไหม้หรือถูกของร้อนนาน ๆ หรือไฟฟ้าช็อต
วิธีปฐมพยาบาลแผลน้ำร้อนลวกเบื้องต้น
- ออกจากบริเวณนั้นให้ไวที่สุด
- ล้างแผลหลังจากการสัมผัสกับความร้อนให้เร็วที่สุดภายใน 15 นาที ให้รีบล้างแผลโดยใช้น้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้อง หากแผลมีสิ่งสกปรกให้ล้างด้วยสบู่อ่อนๆ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ห้ามใช้ น้ำเย็นจัดเพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายมากขึ้น, ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟันเนื่องจากมันจะไปปิดช่องการระบายของแผลทำให้เกิดการระคายเคืองที่บาดแผล
- ซับแผลให้แห้ง ด้วยผ้าสะอาด และปิดแผลด้วยผลิตภัณฑ์ผิดแผลหรือผ้าที่สะอาด
- หากบาดแผลมีความรุนแรงมากหรือแผลลึก ควรรีบพบแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมและให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง
ภาวะแทรกซ้อนของแผลไฟไหม้และน้ําร้อนลวก
- ติดเชื้อ : เนื่องจากแผลเป็นที่เปิดมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง การติดเชื้อในกระแสเลือด
- กระดูกและข้อต่อ : ในกรณีที่แผลมีระดับรุนแรกถึงระดับ 3 มีความเสี่ยงที่ส่วนของกระดูกและข้อต่อจะได้รับความเสียหายด้วย ทำให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ
สรุป
การรับมือกับบาดแผลจากน้ำร้อนลวกต้องการความระมัดระวังและการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง การดูแลและการรักษาแผลให้เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและช่วยเร่งการฟื้นตัวของร่างกายให้รวดเร็วขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณสนใจเรียนรู้เทคนิคการปฐมพยาบาลเมื่อเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่—> คอร์สอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่รวมเนื้อการปฏิบัติเมื่อพบผู้ประสบภัยในสถานการณ์ต่างๆกว่า 40 รายการไม่ว่าจะเป็นสำหรับบุคคลทั่วไป ที่มักพบในชีวิตประจำวันหรือ สำหรับองค์กรที่มักมีอุบัติเหตุตามลักษณะงานที่ทำ เมื่อจบหลักสูตรมีการมอบวุฒิบัตรเพื่อยืนยันผ่านอบรม