การห้ามเลือดบริเวณคอเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่หลายคนอาจรู้สึกตื่นตระหนก เพราะคอเป็นจุดที่มีเส้นเลือดและอวัยวะสำคัญหลายส่วน เช่น เส้นเลือดแดงใหญ่ และหลอดลม ซึ่งถ้าเกิดการบาดเจ็บอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หลักการปฐมพยาบาลในสถานการณ์นี้ จึงต้องทำอย่างระมัดระวังและถูกวิธีเพื่อช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บให้ได้เร็วที่สุด
บาดแผลบริเวณคอมีความเสี่ยงแค่ไหน
บริเวณคอเป็นส่วนที่บอบบางหากมีอะไรกระทบอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต เพราะที่คอมีทั้งเส้นเลือดแดงคาโรติด (Carotid artery) และหลอดเลือดดำ (Jugular vein) มีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะต่าง ๆ หากเกิดการบาดเจ็บและเลือดออก อาจทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว หากไม่มีการห้ามเลือดที่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยช็อกหรือเสียชีวิตได้ หรือเรียกอาการนี้ว่า Hypovolemic Shock
อาการที่บ่งบอกถึงการเสียเลือดมาก
-
- เลือดไหลออกไม่หยุดจากบาดแผล
- อาการหน้าซีด ผิวหนังเย็นและชื้น
- รู้สึกเวียนศีรษะหรือหมดสติ
- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น หายใจถี่
การรู้จักวิธีการห้ามเลือดที่ถูกต้อง และการเข้าใจหลักการปฐมพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีอายุ 20-40 ปี ซึ่งมักเป็นกลุ่มที่ทำงานหรือทำกิจกรรมเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุจากการทำงานควรมีความรู้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตัว หากพบเจอสถานการณ์ไม่คาดคิด
เราของแนะนำหลักสูตรอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) จาก CPR ง่ายนิดเดียว ที่มีทีมวิทยากรมืออาชีพพร้อมอุปกรณ์ฝึกซ้อม ให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฐมพยาบาลไปพร้อมๆกันทุกคน หลังจบการอบรมผู้เข้าอบรมจะได้รับวุฒิบัตรเพื่อยืนยันผ่านหลักสูตร สมัครวันนี้ลดทันที 40%
หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการห้ามเลือดบริเวณคอ
- ตรวจสอบสภาพแวดล้อม ก่อนเริ่มการปฐมพยาบาล ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย เพื่อไม่ให้ตัวเองหรือผู้ป่วยได้รับอันตรายเพิ่มเติม เช่น การหลีกเลี่ยงอยู่ใกล้เครื่องจักรที่ยังทำงาน หรือสถานที่ที่มีวัตถุแหลมคม
- ตรวจสอบบาดแผล ตรวจสอบแหล่งที่มาของเลือด โดยเฉพาะบาดแผลที่บริเวณคอ ต้องระมัดระวังว่าเป็นแผลที่ลึกหรือไม่ และเป็นแผลจากอุบัติเหตุประเภทใด เช่น ถูกของมีคมบาดหรือถูกกระแทก หากพบว่าเลือดออกมาก ควรประเมินอย่างรวดเร็วว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมากหรือไม่ มีมีมากควรโทรเรียกรถพยาบาล เบอร์ฉุกเฉิน 1669 หรือหากสามารถนำส่งได้ให้นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- กดห้ามเลือด (Direct Pressure) เมื่อระบุตำแหน่งของบาดแผลแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การกดห้ามเลือดโดยตรง ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซในการกดลงไปบนบาดแผลแรง ๆ เพื่อหยุดการไหลของเลือด หลีกเลี่ยงการกดตรงเส้นเลือดใหญ่หรือจุดที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บลึก
- ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผล (Dressing) หากเลือดหยุดไหลหรือชะลอตัวลง ควรพันบาดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลให้แน่นพอสมควร แต่ต้องใช้ผ้าพันแผลควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการกดรัดจนทำให้หายใจลำบาก หากผ้าก๊อซที่ใช้ในการกดห้ามเลือดเริ่มชุ่มไปด้วยเลือด ให้เสริมผ้าชั้นใหม่โดยไม่ต้องถอดชั้นเดิมออก เนื่องจากการดึงออกอาจทำให้เลือดไหลออกอีกครั้ง
- ยกส่วนที่บาดเจ็บขึ้น (Elevation) หากเป็นไปได้ ควรยกศีรษะและลำคอขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดแรงดันเลือดและชะลอการไหลของเลือด
- การใช้ความเย็น (Cold Application) การใช้ความเย็น เช่น เจลเย็นหรือถุงน้ำแข็ง สามารถช่วยห้ามเลือดได้โดยการทำให้หลอดเลือดหดตัวลง และช่วยลดการบวมและการอักเสบ ควรใช้ความเย็นประคบบริเวณคอห่างจากแผลเล็กน้อยเพื่อไม่ให้แผลถูกกระตุ้น
- นำส่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อแพทย์มาถึงให้นำส่งทีมแพทย์ปฏิบัติงานต่อ รายงานเบื้องต้นว่าผู้บาดเจ็บมีบาดแผลตรงไหน ยังพอมีสติไหม ได้รับบาดเจ็บมานานเท่าไหร่
ข้อควรระวังและข้อห้ามในการห้ามเลือดบริเวณคอ
การห้ามเลือดบริเวณคอควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเส้นเลือดที่คอมีขนาดใหญ่ หากกดแรงเกินไปหรือผิดวิธีอาจทำให้เส้นเลือดฉีกขาดเพิ่มได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายรัด (Tourniquet) บริเวณคอ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กดเลือดในกรณีฉุกเฉิน เช่น บริเวณแขนหรือขา สายรัดจะทำให้หลอดเลือดที่คอถูกบีบรัดและอาจทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออก
เมื่อปฐมพยาบาลเสร็จ หลังจากห้ามเลือดต้องทำอะไรบ้าง
หลังจากที่สามารถหยุดเลือดได้หรือทำให้เลือดชะลอตัวลง สิ่งที่ควรทำ คือ ให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบายและรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ ไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียความร้อนมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ระหว่างรอการช่วยเหลือทางการแพทย์ ควรตรวจสอบสัญญาณชีพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อประเมินสถานะของผู้ป่วย
เมื่อไหร่ต้องเรียกรถพยาบาลและขนย้ายผู้ป่วย
หากเลือดหยุดไหลแล้วหรือถูกควบคุมได้ในระดับหนึ่ง ควรรีบเรียกรถพยาบาล เบอร์โทรฉุกเฉิน 1669 หรือให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เนื่องจากการเสียเลือดอาจเกิดขึ้นภายในและไม่ได้แสดงอาการในทันที การขนย้ายผู้ป่วยควรทำอย่างระมัดระวังโดยไม่ให้ส่วนคอถูกขยับมากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่บาดแผลจะเปิดอีกครั้ง >> เทคนิคการขนย้ายผู้บาดเจ็บ
ตัวอย่างอุปกรณ์ใช้ในการเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บบริเวณคอ
1. แผ่นกระดานรองหลัง (Spinal Board หรือ Long Spine Board)
แผ่นกระดานรองหลังใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาเสถียรภาพของกระดูกสันหลังทั้งหมด รวมถึงคอ โดยจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวมากเกินไประหว่างการย้าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนบนหรือล่าง
2. สายรัดยึด (Straps and Head Immobilizer)
อุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกับแผ่นกระดานรองหลังหรือเปลสนาม ได้แก่ สายรัดยึด และชุดล็อกศีรษะ เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มเติม ทั้งนี้ ชุดล็อกศีรษะช่วยประคองศีรษะและคอให้คงที่ขณะเคลื่อนย้าย
3. เปลสนาม (Stretcher)
เปลสนามเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุไปยังยานพาหนะหรือสถานที่ปลอดภัย เปลบางแบบสามารถใช้ได้ร่วมกับกระดานรองหลัง และบางรุ่นออกแบบมาให้ใช้งานง่ายในพื้นที่แคบ เปลสนามอาจมีหลายแบบ เช่น เปลตะกร้า (Basket Stretcher) หรือเปลผ้า (Fabric Stretcher)
4. เก้าอี้ลำเลียง (Evacuation Chair)
เก้าอี้ลำเลียงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยในพื้นที่จำกัด เช่น พื้นที่ที่มีช่องทางเดินแคบ เก้าอี้ลำเลียงมักจะมาพร้อมกับสายรัดเพื่อให้ผู้ป่วยคงที่ขณะเคลื่อนย้าย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่คอ การใช้เก้าอี้ลำเลียงต้องระมัดระวังและใช้ร่วมกับเฝือกคอเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม
วิธีการป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บบริเวณคอ
การป้องกันตัวเองจากการบาดเจ็บบริเวณคอมีความสำคัญไม่แพ้กับการปฐมพยาบาล เนื่องจากบริเวณนี้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันหรือจากการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกนิรภัยหรือแผ่นรองคอในการทำงานที่เสี่ยงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรปฏิบัติป้องกันไว้ก่อน ที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น
สรุป
การห้ามเลือดบริเวณคอเป็นการปฐมพยาบาลที่ต้องใช้ความระมัดระวังและการทำอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บรุนแรง การกดห้ามเลือด การพันแผล การยกศีรษะ และการใช้ความเย็นเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ควรปฏิบัติด้วยความรอบคอบและรีบพาผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
หากคุณสนใจหลักสูตรอบรมปฐมพยาบาล เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลและช่วยเหลือผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเลือด การป้องกันการบาดเจ็บที่สำคัญ เช่น บริเวณคอ หรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ปลอดภัย หลักสูตรของเรามีเนื้อหาที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจ
รายละเอียด : คอร์สอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ติดต่อ : (064) 958 7451 คุณแนน